แผนกสูติ-นรีเวช คลินิกปริกำเนิด
ข้อมูลทั่วไป
แผนกสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลเกษมราษฏร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ เข้าใจความต่างของผู้หญิงทุกช่วงวัย และตระหนักถึงความต้องการของผู้หญิงที่อยากมีสุขภาพดี จึงพร้อมให้บริการดูแลคุณสุภาพสตรีทุกวัยอย่างครบวงจร ตั้งแต่การตรวจสุขภาพ ไปจนถึงการวินิจฉัย ป้องกัน และรักษาโรคของสตรี การฝากครรภ์และการคลอด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาทั้งสูตินารีแพทย์หญิงในสาขาต่างๆ
การบริการดูแลสุขภาพสตรีทุกช่วงวัย
1. วินิจฉัยครบวงจรเพื่อตรวจและป้องกันโรคของสตรี
ศูนย์สูติ-นรีเวช โรงพยาบาลเกษมราษฏร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ ให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคของสตรีทุกชนิดด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย โดยตัวอย่างการตรวจวินิจฉัยโรคภายในของสตรี เช่น
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบ Thin Prep ตรวจหา HPV virus และบริการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV
ตรวจความผิดปกติของปากมดลูกด้วยการส่องกล้อง colposcope และตรวจรักษาด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ 4 มิติ
ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์
ตรวจอัลตราซาวนด์ทางสูตินรีเวช เพื่อวินิจฉัยโรคและความผิดปกติของอวัยวะภายในสตรี
ตรวจหาความหนาแน่นของมวลกระดูก
2. รักษาโรคของสตรี
ศูนย์สูติ-นรีเวช โรงพยาบาลเกษมราษฏร์ รัตนาธิเบศร์ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนรีเวชให้การรักษาครอบคลุมทุกโรคของสตรี โดยตัวอย่างของโรคที่ให้บริการตรวจรักษาที่พบบ่อย เช่น
ภาวะผิดปกติของการมีประจำเดือน ปวดประจำเดือน ตกขาว และภาวะผิดปกติในการขับถ่ายปัสสาวะ (ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน)
โรคมะเร็งในสตรีทุกชนิด เช่น มะเร็งเต้านม พร้อมให้บริการรักษาอย่างครบวงจรและดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคลโดยแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ แพทย์หญิงชลิดา เรารุ่งโรจน์ สูตินรีแพทย์เฉพาะทางมะเร็งนรีเวช , นายแพทย์ศุภกร พิทักษ์การกุล สูตินรีแพทย์เฉพาะทางมะเร็งนรีเวช
ให้การรักษาผู้ที่มีปัญหาทางนรีเวชด้วยการผ่าตัดและการผ่าตัดส่องกล้อง นายแพทย์สันติ พงศ์ภัณฑารักษ์ สูตินรีแพทย์ทั่วไป , นายแพทย์สุขสรรค์ ชัยวิรัตนะ สูตินรีแพทย์ทั่วไป
ดูแลความพร้อมสำหรับสตรีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์จนมีบุตร
ศูนย์สูติ-นรีเวช โรงพยาบาลเกษมราษฏร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ มีทีมแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษา ตอบคำถาม และดูแลสตรีตั้งแต่เตรียมตัวเป็นคุณแม่ไปจนถึงหลังคลอด เพื่อสร้างความมั่นใจและคลายความกังวล จึงมีทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่พร้อมให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมีบริการดังนี้
ก่อนตั้งครรภ์
วางแผนการตั้งครรภ์ ตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีน เตรียมพร้อมก่อนแต่งงานและก่อนมีบุตร
ให้คำแนะนำและรักษาภาวะมีบุตรยาก
ระหว่างตั้งครรภ์
ดูแลการฝากครรภ์ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการให้นม การเตรียมตัวสำหรับการเป็นคุณแม่ รวมถึงการคุมกำเนิดวิธีต่างๆ หลังคลอดบุตร
จัดอบรมหลักสูตรการเตรียมตัวก่อนคลอดโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
ตรวจวิเคราะห์เกี่ยวกับพันธุกรรมเพื่อหาโรคและความผิดปกติของทารก รวมถึงตรวจความเสี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์ และให้การดูแลการตั้งครรภ์ของมารดาที่มีภาวะครรภ์เสี่ยง
ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับทางเลือกในการคลอด
การคลอดบุตร
ให้บริการคลอดบุตรที่ได้มาตรฐาน มีอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
ดูแลการคลอดของมารดาที่มีภาวะครรภ์เสี่ยง
หลังคลอด
สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งมีพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการอบรมเฉพาะทางพร้อมให้บริการดังต่อไปนี้
ให้คำปรึกษาการเตรียมพร้อมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ให้คำปรึกษาการแก้ไขปัญหาหัวนมและเต้านมแก่สตรีตั้งครรภ์
ให้คำแนะนำและช่วยเหลือคุณแม่ที่มีปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ให้คำแนะนำและช่วยเหลือคุณแม่เพื่อฝึกทักษะการให้นมแม่อย่างถูกต้อง
ให้คำแนะนำและช่วยเหลือคุณแม่หลังคลอดที่มีปัญหาเต้านมและหัวนม เช่น เต้านมคัด เต้านมอักเสบ หัวนมเจ็บ
ให้คำแนะนำคุณแม่ที่มีปัญหาน้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอ
ให้คำแนะนำและช่วยเหลือคุณแม่ที่มีปัญหาลูกไม่ยอมดูดนมแม่ สับสนหัวนม
บริการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ดูแลและให้คำปรึกษาสตรีวัยหมดประจำเดือน
เมื่ออายุมากขึ้น ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจ โรงพยาบาลเกษมราษฏร์ รัตนาธิเบศร์ มีแพทย์ที่จะให้การดูแลและคำแนะนำ เพื่อให้คุณสุภาพสตรีเตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอย่างเข้าใจ โดยให้การบริการ อาทิ
- ให้คำแนะนำสำหรับการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
- ให้คำปรึกษาและรักษาในเรื่องฮอร์โมน กระดูก และอื่นๆ
- ตรวจหาความหนาแน่นของกระดูกเพื่อวิเคราะห์โรคกระดูกพรุนในวัยทอง
- การตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์
- ความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่น ความพิการแต่กำเนิด ปากแหว่ง เพดานโหว่ ลิ้นหัวใจพิการ ทารกหัวบาตร ( ศีรษะบวมน้ำ) ภาวะไม่มีสมอง และไม่มีกระโหลกศีรษะ รวมทั้งโครโมโซมผิดปกติ ซึ่งพบได้ร้อยละ 2-3 ของหญิงตั้งครรภ์ภาวะผิดปกติเหล่านี้ก่อให้เกิดความพิการแต่กำเนิดรวมทั้งการสูญเสียชีวิตของทารก ปัจจัยที่มีผลต่อความผิดปกติของทารกในครรภ์นั้นอาจจะทราบสาเหตุหรือไม่ทราบสาเหตุก็ได้ โดยพบว่าประมาณ 1 ใน 4 เกิดจากสาเหตุทางพันธุกรรม
สารทางพันธุกรรมที่อยู่ภายในเซลล์ เรียกว่า โครโมโซม โดยมนุษย์จะมีโครโมโซม 23 คู่ (46 แท่ง) โครโมโซมจะเป็นตัวกำหนดลักษณะต่างๆ ของทารก เช่น รูปร่าง หน้าตา สติปัญญา เพศ เป็นต้น ในกรณีที่โครโมโซมผิดปกติ เช่น มีการขาดหายไปหรือเพิ่มขึ้นของโครโมโซม อาจทำให้ทารกมีความผิดปกติทางร่างกาย หรือสติปัญญาได้ โครโมโซมผิดปกติที่พบบ่อย คือ โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง ทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกายและสมอง ที่เรียกว่า กลุ่มอาการดาวน์ (Down’s syndrome)
ในปัจจุบันมีการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของทารกในครรภ์หลายวิธีขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ขณะนั้น
1. การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound)มีความปลอดภัยสูง และสามารถทำได้บ่อยครั้งเท่าที่ต้องการ ปัจจุบันพัฒนาการของเครื่องอัลตราซาวน์ก้าวหน้าเป็นอย่างมาก จาก 2 มิติ พัฒนาสู่ 3 และ 4 มิติ ซึ่งทำให้ความละเอียดในการตรวจวินิจฉัยได้ดีขึ้นและชัดเจนขึ้นอย่างมากการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงไม่ได้มีประโยชน์เพียงการดูเพศและดูการเจริญเติบโตของทารกเท่านั้น ยังสามารถใช้ตรวจวินิจฉัยภาวะผิดปกติต่างๆได้อีกด้วย เพื่อให้การรักษาขณะทารกอยู่ในครรภ์และเตรียมการรักษาหลังคลอด โดยมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันในแต่ละไตรมาส
ในไตรมาสแรก จะทำการตรวจอัลตราซาวน์ในช่วงอายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์ เป็นการตรวจเพื่อยืนยันอายุครรภ์โดยการวัดความยาวตั้งแต่ศีรษะถึงกระดูกก้นกบ ทำให้ทราบกำหนดวันคลอดที่แน่นอนในมารดาที่จำประจำเดือนไม่ได้และยังสามารถใช้ตรวจคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ โดยการวัดความหนาของต้นคอทารก และดูกระดูกบริเวณดั้งจมูกของทารก ร่วมกับการตรวจสารชีวเคมีในเลือดมารดา ทำให้เพิ่มความแม่นยำในการวินิจจัยทารกกลุ่มอาการดาวน์ได้อีกด้วย
สำหรับในไตรมาสที่ 2 จะตรวจตั้งแต่อายุครรภ์ 18 - 22 สัปดาห์ เพื่อยืนยันอายุครรภ์ในมารดาที่มาฝากครรภ์ช้าและไม่ได้รับการตรวจตั้งแต่ในไตรมาสแรก สามารถตรวจอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง กระดูกสันหลัง หัวใจ ตับ ไต ตรวจดูตำแหน่งรกและปริมาณน้ำคร่ำ อีกทั้งยังสามารถตรวจการไหลเวียนโลหิตของเส้นเลือดที่มาเลี้ยงมดลูกซึ่งเชื่อมต่อมายังทารก ซึ่งหากพบความผิดปกติก็อาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์หรือครรภ์เป็นพิษและภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ได้ ส่วนในกรณีที่มารดามีประวัติคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ก่อน เราสามารถวัดความยาวของปากมดลูกในช่วงอายุครรภ์นี้ เพื่อทำนายในการที่จะเกิดการคลอดก่อนกำหนดซ้ำ เพื่อให้การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด
การตรวจในไตรมาสที่ 3 จะทำในช่วงอายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ เพื่อตรวจดูพัฒนาการของทารกในครรภ์ และที่สำคัญคือ สามารถตรวจดูอัตราการเจริญเติบโตของทารก ซึ่งโดยปกติภาวะทารกเติบโตช้าจะเกิดในช่วงนี้ ถ้าสามารถให้การวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงทีก็จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของทารก และยังช่วยลดโอกาสการเป็นเบาหวาน โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูงของทารกหลังคลอดได้อีกด้วย การทำอัลตราวาวน์ในช่วงนี้ยังสามารถตรวจการเจริญเติบโตของกระดูกของทารกได้ ซึ่งจะเป็นการวินิจฉัยความผิดปกติของกระดูก เช่น คนแคระ กระดูกบางผิดปกติ แขน- ขาสั้น มือหรือเท้าอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น เท้าปุก
ดังนั้นการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเพียงครั้งเดียว อาจไม่สามารถวินิจฉัยความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ ควรได้รับการตรวจติดตามเป็นระยะ โดยเฉพาะในกรณีที่พบความผิดปกติของทารก
2. การตรวจสารชีวเคมีในเลือดมารดาขณะตั้งครรภ์ (Maternal serum screening test)
ปัญหาที่สำคัญที่สตรีตั้งครรภ์มักจะหวั่นวิตกเสมอก็คือ ทารกกลุ่มอาการดาวน์ ซึ่งเป็นภาวะที่ทารกมีความผิดปกติทางร่างกาย หรือสติปัญญา โดยโอกาสเสี่ยงมากขึ้นในสตรีตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป แต่จากสถิติพบว่าทารกกลุ่มอาการดาวน์พบมากในสตรีตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 35 ปี เนื่องจากไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง การตรวจสารชีวเคมีในเลือดมารดาขณะตั้งครรภ์จึงมีประโยชน์ ในกรณีที่มารดาไม่ต้องการเสี่ยงต่อการแท้งบุตร ปัจจุบันการคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์สามารถทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 11-14 สัปดาห์ โดยใช้การตรวจสารเคมีในเลือดมารดาขณะตั้งครรภ์ (Double marker) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการตรวจพบความผิดปกติ (Detection rate) สูงถึงร้อยละ 94-96 โดยทำการตรวจในไตรมาสแรก และไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ (Quad marker) นอกจากใช้ตรวจหาความเสี่ยงในการเกิดทารกกลุ่มอาการดาวน์ หรือ Trisomy 21 แล้ว ยังสามารถตรวจหาความเสี่ยงทารกกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดหรือ Trisomy 18 และกลุ่มอาการผิดปกติในระบบประสาท ศีรษะและไขสันหลังของทารกในครรภ์ได้อีกด้วย โดยหากพบความเสี่ยงสูงจะแนะนำทำการตรวจหาโครโมโซมต่อไป
3. การเจาะตรวจน้ำคร่ำ (Amniocentesis)
เป็นวิธีที่นิยมและใช้มากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากทำได้ง่าย อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์ต่ำ ให้ผลที่มีความแม่นยำสูง การเจาะนํ้าครํ่าเพื่อตรวจหาโครโมโซมเป็นกระบวนการนำนํ้าครํ่าที่อยู่รอบตัวของทารกในโพรงมดลูกออกมา เพื่อทำการตรวจหาโครโมโซมของทารก โดยเริ่มจากการตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสม จากนั้นใช้เข็มขนาดเล็กแทงผ่านผิวหนังบริเวณหน้าท้องและมดลูกเข้าไปในถุงนํ้าครํ่า แล้วใช้กระบอกฉีดยาดูดเอานํ้าครํ่าออกมาประมาณ 15-20 ซีซี ซึ่งเป็นปริมาณเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณนํ้าครํ่าที่มีอยู่ในครรภ์ขณะนั้น( ประมาณ 180- 200 ซีซี) อายุครรภ์ที่เหมาะสมในการเจาะน้ำคร่ำคือ 15-20 สัปดาห์ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ การแท้งบุตร พบได้ร้อยละ 0.5-1 ของการเจาะนํ้าครํ่า ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ พบได้น้อย เช่น เลือดออก การติดเชื้อ ถุงนํ้าครํ่ารั่ว เป็นต้น
4. การตัดชิ้นเนื้อจากรก (Chorionic villi sampling)
เป็นวิธีการตัดหรือดูดเนื้อรกบางส่วน เนื่องจากทารกและรกเจริญพัฒนามาจากเซลล์เนื้อเยื่อเดียวกันจึงมีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายคลึงกัน ทำให้ตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของทารกได้ โดยจะกระทำในระยะที่รกเริ่มเกาะแน่นพอที่จะไม่เกิดการแท้ง อายุครรภ์ที่เหมาะสมคือ 10-13 สัปดาห์ ภาวะแทรกซ้อนเช่นเดียวกับการเจาะน้ำคร่ำ โดยพบได้ร้อยละ 0.5
5. การเจาะเลือดจากสายสะดือทารกในครรภ์ (Cordocentesis)
เป็นการใช้เข็มเจาะเลือดทารกในครรภ์บริเวณสายสะดือผ่านทางหน้าท้องมารดาโดยอาศัยการตรวจอัลตร้าซาวน์ชี้นำปลายเข็มแล้วส่งตัวอย่างเลือดไปห้องปฎิบัติการเพื่อตรวจวินิจฉัยความผิดปกติทางโครโมโซมโดยเฉพาะกลุ่มอาการดาวน์ การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อแต่กำเนิด ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ เลือดออก พบได้ร้อยละ 50 ทารกเสียชีวิตพบได้ร้อยละ 1.4
ใครบ้างควรรับการตรวจหาโครโมโซมของทารก
1. มารดาที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป นับถึงวันกำหนดคลอดบุตร เนื่องจากโอกาสที่ทารกในครรภ์เกิดภาวะกลุ่มอาการดาวน์สูงขึ้นตามอายุ โดยทั่วไปทารกที่คลอดจากมารดาอายุน้อยกว่า 35 ปี มีโอกาสเป็นกลุ่มอาการดาวน์ประมาณ 1 ใน 800 คน ในขณะที่มารดาที่อายุ 35 ปีมีโอกาสคลอดทารกที่เป็นกลุ่มอาการดาวน์ ประมาณ 1 ใน 350 คน และถ้ามารดาอายุสูงขึ้นยิ่งมีโอกาสเกิดภาวะนี้สูงขึ้นด้วยตามลำดับ
2. มารดาที่เคยคลอดทารกที่มีโครโมโซมผิดปกติรวมทั้งทารกที่มีความพิการหลายอย่างโดยไม่ทราบสาเหตุในครรภ์ก่อน
3. มารดาหรือบิดาที่มีความผิดปกติของโครโมโซมที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปยังทารกได้
4. มารดาที่มีผลตรวจเลือดคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ผิดปกติ
ถ้าผลโครโมโซมของทารกผิดปกติจะทำอย่างไรต่อไป
ถ้าผลโครโมโซมของทารกผิดปกติแพทย์จะให้คำปรึกษาแก่ท่านและสามีถึงผลการตรวจและความผิดปกติของทารกที่อาจเกิดขึ้นได้ แนวทางการรักษา ทางเลือกในการดูแลการตั้งครรภ์ต่อไป โดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของท่านและสามีเป็นสำคัญ แพทย์ผู้ให้คำปรึกษาจะดูแลต่อไปตามความเหมาะสม กรณีผลโครโมโซมของทารกปกติก็ไม่ได้ยืนยันว่าทารกจะปกติ สมบูรณ์แข็งแรง เพราะความผิดปกติบางอย่างของทารกไม่ได้เกิดจากโครโมโซมผิดปกติเพียงอย่างเดียว อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้อีก ด้วย
สิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีทางการแพทย์ของเรา
อัลตร้าซาวน์ครรภ์มารดา
สถานที่ & ติดต่อ
แผนกสูติ-นรีเวช คลินิกปริกำเนิด : 02-594-0020-65 ต่อ 1320
แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน เตรียมพร้อมตลอด 24 ชม. พร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมทั้งการปฐม พยาบาลเบื้องต้นเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน จึงช่วยให้วางใจ ในการบริการของโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์ได้ว่า ทางโรงพยาบาลมีบริการรับส่งผู้ป่วยเพื่อเตรียมกู้ชีพผู้ป่วย ฉุกเฉินตลอด 24 ชม.
รายละเอียดวิสัญญี แพทย์ผู้รับผิดชอบของการใช้ยาสลบ เพื่อบรรเทาความกลัว และความเจ็บปวด ให้แก่คนไข้ในการผ่าตัด โดยทำงานร่วมแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาอื่นๆด้วย
รายละเอียดแผนกกายภาพบำบัด เล็งเห็นความสำคัญของ การทำกายภาพบำบัด เพื่อบำบัดความ เจ็บปวดและฟื้นฟูภาวะทุพพลภาพ
รายละเอียดแผนกผิวหนังและความงาม ให้บริการด้านการรักษาโรคที่เกี่ยวกับผิวหนัง อาทิเช่น ภูมิแพ้ทางผิวหนัง เชื้อรา กลาก เกลื้อน ฯลฯ
รายละเอียดแผนกเวชศาสตร์ชะลอวัย Anti-Aging ให้การดูแลคนไข้แบบลงลึกเพื่อวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคในอนาคต
รายละเอียดแผนกตรวจสุขภาพ เล็งเห็นความสำคัญ ของการตรวจเช็คสุขภาพ เพื่อค้นหาโรคภัย ร้ายที่ซ่อนเร้นอยู่ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
รายละเอียดแผนกทันตกรรม เล็งเห็นความสำคัญของการดูแล ตรวจวินิจฉัยและรักษาฟัน โดยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญทันตกรรมในทุกด้า
รายละเอียดแผนกจักษุวิทยา เล็งเห็นความสำคัญของ การตรวจวินิจฉัย ดูแลและรักษาโรคทางตา โดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งทางด้านกระจกตา จอประสาทตา ต้อหิน ผ่าตัดท่อน้ำตา แก้ไข ตาเหล่ ตาเข และประสาทตาเด็ก
รายละเอียดแผนกกุมารเวชกรรม คลินิกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลและพัฒนาเด็กและวัยรุ่น
รายละเอียดแผนกกุมารเวชกรรม คลินิกพัฒนาการเด็ก เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลและพัฒนา เด็กที่มีปัญหาในด้านการพัฒนาการ
รายละเอียดแผนกกุมารเวชกรรม คลินิกเด็กดี เล็งเห็นความ สำคัญของการดูแลเด็กดีที่มาตรวจพัฒนาการ และรับวัคซีน
รายละเอียดแผนกกุมารเวชกรรม คลินิกโรคไต เล็งเห็น ความสำคัญของการตรวจวินิจฉัยและรักษา โรคไตในเด็ก ซึ่งต้องใช้การดูแลพิเศษเฉพาะ ด้าน โดยผู้เชี่ยวชาญกุมารแพทย์โรคไต
รายละเอียดแผนกกุมารเวชกรรม คลินิกโรคภูมิแพ้ เล็งเห็นความสำคัญของการตรวจวินิจฉัย ดูแล รักษาและป้องกัน โรคภูมิแพ้
รายละเอียดแผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อเล็งเห็นความ สำคัญของโรคกระดูกและข้อ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการ รักษาที่ถูกต้องตามสาเหตุของการเกิดโรคและ ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
รายละเอียดแผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อ : ส่องกล้องข้อเข่า ไหล่ เล็งเห็นความสำคัญในการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคข้อและเอนในข้อ
รายละเอียดแผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อ เล็งเห็นความ สำคัญของการตรวจรักษาและเฝ้าระวังภาวะ แทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในผู้ป่วยที่ ได้รับบาดเจ็บกระดูกและข้อจากอุบัติเหตุต่างๆ
รายละเอียดแผนกศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เล็งเห็นความสำคัญของการตรวจค้นหาโรค วินิจฉัย และรักษา อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ตามหลักวิชาชีพ เพื่อการรักษาที่ได้ผลดี
รายละเอียดแผนกศัลยกรรมทางเดินอาหาร ตับและทางเดินน้ำดี เล็งเห็นความสำคัญของการตรวจค้นหาโรค วินิฉัย และรักษา อย่างรวดเร็วและถูกต้องตามหลักวิชาชีพ เพื่อการรักษาที่ได้ผลดี
รายละเอียดแผนกศัลยกรรมทั่วไปและอุบัติเหตุ เล็งเห็นความสำคัญของการดูแล รักษาผู้ป่วยอุบัติเหตุอย่างรวดเร็ว ทันท่วงที โดยทีมแพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมหลอดเลือด ศัลยกรรมทรวงอก และศัลยกรรมเด็ก
รายละเอียดแผนกศัลยกรรม ทางเดินปัสสาวะ ปัญหา ทางเดินปัสสาวะ และเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ทั้งหญิง และชาย รวมถึงการควบคุม การขับปัสสาวะ ปัญหานิ่ว ทางเดินปัสสาวะ โรคติดเชื้อ โรคเกี่ยวกับ ต่อมลูกหมาก ฯลฯ
รายละเอียดแผนกอายุรกรรม เฉพาะทางมะเร็งวิทยา เล็งเห็นความสำคัญของการค้นหา รักษา และป้องกัน การแพร่กระจาย ของมะเร็ง พร้อมทั้งตรวจติดตาม ภายหลังการรักษา
รายละเอียดแผนกอายุรกรรม เฉพาะทางโรคเลือด ค้นหา รักษาโรค และป้องกัน ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
รายละเอียดแผนกอายุรกรรม คลินิกความดันโลหิตสูง ดูแล รักษา ค้นหาความเสี่ยงและป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดในผู้ป่วย
รายละเอียดแผนกอายุรกรรมโรคไตและไตเทียม มีทีม แพทย์ดูแลและเพื่อป้องกันก่อนที่จะไตวาย
รายละเอียดแผนกอายุรกรรมทางเดินอาหารและตับ รักษาและค้นหาโรคทางเดินอาหารและตับ ซึ่งเป็นปัญหาหลักของคนไทย
รายละเอียดแผนกเวชปฏิบัติทั่วไป เล็งเห็นความสำคัญของ การดูแล การค้นหาสาเหตุ รักษาป้องกันโรค ทั้งโรคทั่วไปและโรคที่เกิดจากการทำงาน
รายละเอียดแผนกอายุรกรรม เฉพาะทางโรคติดเชื้อ หาสาเหตุของไข้ จากสาเหตุโรคติดเชื้อ เช่น ไข้เลือดออก มาเลเซีย โรคระบาดต่างๆ
รายละเอียดเราเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกัน และรักษาโรคทางเดินหายใจ เช่น หอบหีด ภูมิแพ้ และถุงลมโป่งพอง
รายละเอียดแผนกศัลยกรรมกระดูกสันหลัง ตรวจักษา ผ่าตัดโรคทางกระดูกสันหลังทั้งที่เกิดจาก อุบัติเหตุและไม่ใช่เกิดจากอุบัติเหตุ
รายละเอียดแผนกศัลยกรรมเต้านม เล็งเห็นความสำคัญ ของการตรวจพบ วินิจฉัย และรักษาโดย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมเต้านม
รายละเอียดผ่านการรับรองจากสถาบันประสาทวิทยา ในปี 2554 เล็งเห็นความสำคัญของการป้อง กันโรค ก่อนเกิดเป็นอัมพฤกต์ อัมพาต
รายละเอียดแผนกพัฒนาศักยภาพเด็ก บริการให้ คำปรึกษา และคัดกรอง เด็กที่มีปัญหา พฤติกรรม และพัฒนาการ
รายละเอียดแผนกต่อมไร้ท่อ เป็นสาวก่อนวัย และโรคอ้วนในเด็ก
รายละเอียดแผนกอายุรกรรมทั่วไปเราเล็งเห็น ความสำคัญของการดูแล รักษาทั้ง ครอบครัว
รายละเอียดแผนกจิตเวชทั่วไป และจิตเวชเด็กเล็งเห็นความสำคัญของการดูแลและรักษา ผู้ป่วยด้านจิตใจให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
รายละเอียดแผนกกุมารเวชกรรมทั่วไป เล็งเห็น ความสำคัญของการตรวจวินิจฉัยและ รักษาเด็กในแต่ละช่วงอายุ
รายละเอียดแผนกอายุรกรรมหัวใจและหลอด เลือดเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคหัวใจ
รายละเอียดเป็นสาขาสหวิทยาการซึ่งรวมถึงโรคติด เชื้อในเขตร้อนระบาดวิทยาสาธารณสุข การแพทย์ทางทะเลและการบิน
รายละเอียดให้บริการ ระงับปวดด้วยการฝังเข็มแบบ แผนปัจจุบัน ช่วยรักษาอาการปวดเมื่อย ตามจุดต่างๆ ของร่างกาย
รายละเอียด